Me

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพ




เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ
การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า

ภาพรถจักรยานยนต์ วิ่งด้วยความเร็วสูง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที รูรับแสง F 5.6
นักกีฬากระโดดสูง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที F 5.6

เทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสงเงาดำ




การถ่ายภาพย้อนแสงเงาดำ (Sillhouette)

เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ใช้สร้างสรรค์ภาพได้อย่างน่าสนใจ จุดเด่นของภาพแบบนี้ คือ เราจะเห็นรูปร่างภายนอกของวัตถุที่บังแสงอยู่ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ภาพจะให้ความรู้สึกที่แปลกตาน่าสนใจไปอีกแบบหนึ่ง
เทคนิคการถ่ายย้อนแสงเงาดำ (Sillhouette)


หาทิวทัศน์ช่วงเวลาเย็น ดวงอาทิตย์ใกล้ตก

จัดเฟรมของภาพให้น่าสนใจโดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของดวงอาทิตย์และให้มีวัตถุบังแสงเป็น Foreground เน้นสิ่งที่มีโครงสร้างภายนอกชัดเจน เช่น ต้นมะพร้าว ต้นตาล โขดหิน หญิงสาว เรือ เป็นต้น

ทำการวัดแสงบริเวณที่สว่างบนท้องฟ้าแต่ไม่วัดแสงที่ดวงอาทิตย์โดยตรง

ใช้ขาตั้งกล้อง เนื่องจากต้องใช้ speed shutter ต่ำ

ใช้ F/STOP 11 ลงไปเพื่อให้ได้ความชัดลึก

ภาพที่ได้จะสวยหรือไม่ อยู่ที่สภาพโทนสี
ของแสงบนท้องฟ้า ตำแหน่งของดวงอาทิตย์
และรูปร่างหรือ shape ของแบบที่ใช้เป็น Foreground

วิธีการถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วแบบมืออาชีพ



ที่มาของการถ่ายรูปแอ๊บแบ๊ว...

การถ่ายรูปแอ๊บแบ๊วเป็นส่วนผสมของการถ่ายรูปบุคคล (หรือ Portrait)
กับภาพ Close-up โดยไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่หลักการของการถ่ายรูป
แอ๊บแบ๊วนั้น จัดได้ว่าถ่ายง่ายมาก แต่บางทีก็ติดที่ข้อจำกัดของตัวแบบเอง
หรือขีดความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์มุมกล้อง และมันสมองคนถ่าย
ซึ่งก็มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อกันว่า ท่าทางแอ๊บแบ๊วนั้นมาจากพฤติกรรมของสัตว์
โดยเฉพาะสัตว์น้ำครับ ซึ่งผมจะอธิบายไว้ในช่วงถัดไปว่ามันมีที่มายังไงอีกที
แล้วผลก็คือเมื่อนำมารวม ๆ กันแล้วก็จะได้ท่าที่เรียกได้ว่า 'แอ๊บแบ๊ว' ออกมา
กลายเป็นมุมกล้องที่ดูน่ารัก น่าหยิกที่สุด เท่าที่สมองมนุษยชาติ(บางคน)จะคิดได้
อุปกรณ์ก่อนแอ๊บแบ๊ว

กล้องถ่ายภาพ ซึ่งก็ควรจะเป็นกล้องโทรศัพท์มือถือ หรือกล้อง Compact เท่านั้น
เพราะการใช้กล้องระดับ Digital SLR นั้น มีแต่จะก่อให้เกิดอุปสรรคในการถ่ายรูป
ถ้ากล้องไม่ตกใส่กบาลจนหัวแตกเลือดซิบ แขนที่ถือกล้องอยู่ก็อาจมีกล้ามขึ้นได้
ที่สำคัญไม่ได้ไปถ่ายภาพสารคดีหมีควาย ไม่ต้องไปใช้กล้องเทพระดับพระเจ้าก็ได้
หลักการแห่งการถ่ายรูปแอ๊บแบ๊ว

การถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วนั้นไม่ยาก แต่ถ่ายอย่างไรให้ดูน่าหยิกอันนี้สิที่ยากยิ่งกว่า
เนื่องจากบางคนหน้าตาชวนให้แสดงออกพฤติกรรมที่รุนแรงยิ่งกว่าหย ิกหรือจับ
หลักการดังกล่าวจะช่วยให้ท่านแอ๊บแบ๊วได้ง่ายดายแม้หน้าตาท่านจ ะ Abnormal
โดยรูปแบบการถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วนั้นมีหลักการง่าย ๆ (แต่สำคัญ)ในการถ่ายดังนี้

1.) มุมแอ๊บแบ๊ว

ซึ่งมุมกล้องแบบนี้เราเรียกว่าอีกอย่างว่ามุมกล้องแอ๊บแบ๊ว หรือ Abbeaw Shot
คือคนจะแอ๊บแบ๊วได้ต้องใช้มุมกล้องในพิกัดนี้เท่านั้น เนื่องจากผมยังไม่เคยเห็นคน
แอ๊บแบ๊วคนไหนจะถ่ายแบบสะพานโค้ง หรือแบบลอดขาถ่าย เราจึงกะระยะได้เท่านี้
ที่สำคัญมุมกล้องนี้ถ่ายเองได้ เพราะสามารถใช้มือเดียวในการกดชัตเตอร์ได้สบาย ๆ
โดยมุมที่นิยมมากที่สุดคือมุมสูง (ประมาณ 30o-50o) เพราะจะทำให้หน้าตาดูแบ๊วได้ใจ
ที่มุมกล้องในระดับนี้ได้รับความนิยม คาดว่าน่าจะมาจากปัจจัยที่ทำให้ใบหน้าโดดเด่นได้รูปเป็นที่สุด
มุมกล้องที่ถูกหลักมาตรฐานแอ๊บแบ๊วสากล

2.) การแต่งหน้าแอ๊บแบ๊ว

ถ้าท่านรู้ตัวว่าหน้าตาท่านไม่ดี เหมือนผีตายทั้งกลมชุบแป้งทอด ก็ขอให้ท่านแต่งหน้าด้วย
การแต่งหน้าแบบแอ๊บแบ๊วจะไม่ยากมาก ก็คือแต่งหน้าธรรมดา ๆ ไม่ต้องถึงขั้นลิเกนั่นแหละ
คือไม่ต้องรองพื้นมากเหมือนโรยปูนขาวในงานกีฬาสี เอาบาง ๆ ก็พอ ถ้าพ่อไม่ได้ทำแป้งขาย
ที่ต้องขับเน้นก็คือรอบดวงตา เพราะจะต้องทำตาโต เหมือนกับที่บ้านถูกหวยแจ๊กพ็อต 38 ล้าน
แก้ม...อันนี้สำคัญ ทางที่ดีแก้มควรจะมีสีแดงระเรื่อ เป็นแก้มก้นโดนเตะด้วยรองเท้า Combat
ริมฝีปาก อันนี้ก็ใช่ ให้ทาลิปมันไว้ด้วย อย่าให้คล้ำซีด ถ้าไม่มีลิปให้ต่อยปากเอาู รับรองแดงได้ใจ

3.) การทำหน้าแอ๊บแบ๊ว

สำหรับการทำหน้าให้ถูกสนธิสัญญาแอ๊บแบ๊วสากลนั้น หลักใหญ่ใจความไม่ยากมากนักหรอก
คือการทำหน้ามันไม่ยากนะครับ มันก็จะประมาณเอาสัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิดมาผสมข้ามพันธุ์กันดังนี้

ดวงตา : จะคล้าย ๆ ปลาตีน ใครเคยเห็นปลาตีนคงรู้ดี เพราะตามันโตใสแบ๊วมาแต่ไกลเลย
แก้ม : เหมือนปลาทอง แต่เป็นปลาทองตะกระที่อมซากุระไว้ในกระพุ้งแก้มแบบเต็มความจุนะ
ปาก : ปลาซัคเกอร์ (ปลาเทศบาล) คือทำปากให้ประมาณว่าจะเล็มตะไคร่ที่หน้าดินใต้น้ำได้สบาย ๆ
รวม ๆ แล้ว = จาจาบิงส์ จาก Star Wars: Episode I - The Phantom Menace...

4.) การจัดท่าทาง

บางคนการแสดงออกทางสีหน้ายังไม่แบ๊วพอ จึงต้องใช้ท่าทางเข้าช่วยเพื่อเสริมพลังแอ๊บแบ๊ว
โดยการออกไม้ออกมือจะช่วยท่านได้ การเอานิ้วจิ้มแก้ม หรือทำตัววี (Victory) เป็นท่าสิ้นคิด
ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่หนีกันไปไหน ท่าก็จะสิ้นคิดคล้าย ๆ กัน บ่งบอกถึงระดับสติปัญญาคนทำท่า
ว่าลอก ๆ ตามกันมา จนกลายเป็นรูปแบบพื้นฐาน ใครคิดท่าอื่นจะผิดผี หาใช่วิถีแห่งแอ๊บแบ๊วไม่

5.) การตกแต่งภาพ

จากผลสำรวจบอกว่าร้อยละ 35% ขึ้นไปของผู้แอ๊บแบ๊ว จะต้องเอาภาพผ่านโปรแกรมตัดต่อรูป
เนื่องจากการถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วส่วนใหญ่นั้น จะเป็นการถ่ายแบบ Close Up คือถ่ายระยะประชิด
ดังนั้นสิวเสิว ตีนกงตีนกา ขอบตาคล้ำมันจะออกมาหมด แถมบางทีจะชัดยิ่งขึ้นด้วยแสง Flash
จึงต้องนำเข้าสู่ Photoshop ในกระบวนการที่เรียกว่าลวงโลก...เอ้ย...การปรับลดจุดบกพร่อง...

คนที่ตัดต่อแต่งเติมได้ขนาดนี้ ไปเปิดคอร์สสอน Photoshop หาตังค์เลยดีกว่า...

ข้อเสียคือ...ใครเข้าสู่วิธีการนี้แล้ว 'มักหยุดไม่ได้' เพราะมันส์มือมาก แต่งภาพกันสนุกสนาน
มีสิวลบสิว มีตีนกาก็ทำหน้าเด้ง อ้วนไปก็บีบภาพซะ หน้าดำไปก็ทำให้สว่าง ซึ่งพอทำไปทำมาแล้ว
บางทีออกมาแล้วไม่ใช่คนเดิม หรืออาจถึงขั้น 'ไม่ใช่คน' คือใสมาก เหมือนตุ๊กตา ใสจนควายดูก็รู้ว่าแต่งภาพ
ดังนั้นเมื่อท่านเข้าสู่กระบวนการนี้แล้ว จึงควรกระทำอย่างมีจรรยาบรรณ พอเพียง และจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมด้วยครับ

ประวัติกล้องถ่ายภาพ


มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้น ใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ

1.) ฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ

2.) เคมี ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ

การถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน คือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ ไปปรากฏบนฉากรองรับ และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร

อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีใจความว่า.. "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"

ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายถึง "ห้องมืด" หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเอง

วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน" เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิดขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป การล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

กล่าวโดยสรุป วิชาการถ่ายรูปก็คือ "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย" นั่นเอง

สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น และยังมีภาพถ่ายสถานที่ ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย

ประวัติภาพยนตร์โลก


ภาพยนตร์์ หรือ “หนัง” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 เมื่อพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (cinematography) ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ใต้ถุนร้านกาแฟในกรุงปารีส
แต่ที่จริงแล้ว ความฝันว่าด้วยการสร้างภาพยนตร์ ได้มีมาก่อนหน้านั้น ดังที่ปรากฏในรูปของเล่นต่างๆ ซึ่งใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) เช่น thaumatrope แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพยนตร์บนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้ หรือ zootrope ชุดภาพที่ใส่อยู่ในกล่องทรงกลมซึ่งติดอยู่บนแกนหมุน เมื่องมองเข้าไปตามช่องแล้วหมุน จะเห็นเป็นรูปเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น
หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดยนักทฤษฎีชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2367 เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลักธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง แล้วหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
ช่วงที่ยังไม่เกิดภาพยนตร์มากนัก มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง หนึ่งในผู้บุกเบิกก็คือ เอ็ดเวิร์ด ไมย์บริด (eadweard muybridge) ซึ่งรับท้าพนันเจ้าของคอกม้าแห่งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า ในเวลาม้าวิ่ง จะมีชั่วขณะหนึ่งขาของม้าลอยขึ้นมาพื้นทั้ง 4 ขา เขาได้ทดลองโดยการถ่ายภาพม้าวิ่งด้วยกล้อง 12 ตัว นำสไลด์มาติดบนวงล้อ แล้วฉายด้วยเมจิกแลนเทิร์น (megic latern) ซึ่งเป็นเครื่องฉายสไลด์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเวลานั้น นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าสมมุติฐานนั้นเป็นจริง ยังเห็นภาพม้าเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงอีกด้วย
กลุ่มนักประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน (thomas alva edison) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ แต่บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการประดิษฐ์ คือ วิลเลียม ดิกสัน (william kenedy laurie dickson) ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขา ดิกสันได้พัฒนากล้องที่เรียกว่า คิเนโตโฟโนกราฟ (kinetophonograph) โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze จากนั้นนำมาฉายดูในเครื่องฉายที่เรียกว่า คิเนโตส่โคป (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องถ้ำมองที่ดูได้ทีละคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดของเอดิสันที่เชื่อว่า การดูได้ทีละคนจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้คนยอมจ่ายค่าดู แต่เอดิสันคิดผิด เพราะสิ่งที่ทำให้หนังของพี่น้องลูมิแอร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักหมายที่หนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกนั้น ก็คือ การที่เขาพัฒนาให้ฉายขึ้นจอใหญ่และดูได้ทีละมากๆ จนทำให้ภาพยนตร์เป็นมหรสพสาธารณะที่สร้างวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลกในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

ทะเลหมอกสวยงาม ^_^



ไปห้วยน้ำดังที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

เป็นสถานที่ ๆ สวยมาก แห่งหนึ่งของ เมืองปาย

วิวสวยมากครับ ^_^

แนะนำตัว

สวัสดีครับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียม เว็บบล็อคของผม ผมเพิ่งจะสร้างเว็บบล็อคนี้เสร็จใหม่ ๆ ก็ขอความชี้แนะหรือว่าติชม บล็อค ของผมด้วยนะครับ

ผมชื่อ จิมมี่ ครับ เรียนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนักศึกษาปีที่ 1 คณะ วิทยาการการจัดการ สาขา นิเทศศาสตร์

กระผมสัญญาว่าจะพัฒนาเว็บบล็อคของผมให้ดีขึ้นต่อไปครับ